Print Page

Font Size:

นิยามความหมายและขั้นตอนการทำงานของระบบ ERP

Date : 17 July 2024 | Categories :

ต่อให้มนุษย์จะมีความเข้าใจระบบการบริหารจัดการภายในโรงงานดีเท่าไร แต่ก็ไม่มีทางเอาชนะเทคโนโลยีได้ ดังนั้น ถ้าผู้ประกอบการท่านใดอยากทลายกรอบเดิม ๆ และพาองค์กรไปข้างหน้าอย่างมั่นคง สิ่งที่ต้องทำคือประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต ซึ่งหนึ่งในเทคโนโลยีที่ว่าก็จะต้องรวม “ระบบ ERP” เอาไว้ด้วย บทความนี้จึงจะมาอธิบายให้เห็นภาพกันว่า ระบบ ERP คืออะไร ขั้นตอนการทำงานของระบบ ERP เป็นอย่างไร รวมถึงช่วยให้โรงงานอุตสาหกรรมยุคใหม่ขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพจริงหรือไม่ ? ไปหาคำตอบกันเลย 


ระบบ ERP คืออะไรในอุตสาหกรรมการผลิต ?

ระบบ ERP หรือ Enterprise Resource Planning คือระบบซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการวางแผน จัดการ ควบคุมทรัพยากรและกระบวนการทางธุรกิจขององค์กร โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการผลิต ระบบ ERP มีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลจากทุกแผนกเข้าด้วยกัน ทำให้สามารถวางแผนและตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประโยชน์ของระบบ ERP ในแต่ละภาคส่วนของกระบวนการผลิตมีดังต่อไปนี้

  • การวางแผนการผลิต: ช่วยคำนวณกำลังการผลิต จัดตารางการผลิต และจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสม นอกจากนั้น ระบบยังช่วยในการวางแผนความต้องการวัสดุ (Material Requirements Planning) ด้วยการคำนวณปริมาณวัตถุดิบที่ต้องใช้ตามแผนการผลิต และสั่งซื้อให้ทันเวลา
  • การจัดการคลังสินค้า: การประยุกต์ใช้ระบบ ERP ในการจัดการสต็อกสินค้ามีประโยชน์ตั้งแต่การรับเข้า จัดเก็บ ไปจนถึงการจ่ายออก พร้อมทั้งอัปเดตข้อมูลแบบเรียลไทม์ อีกทั้งระบบนี้ยังมีส่วนช่วยในการจัดการคุณภาพ (Quality Management) ด้วยการติดตามและบันทึกผลการตรวจสอบคุณภาพในทุกขั้นตอน เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้ามีคุณภาพตามมาตรฐาน
  • การบำรุงรักษาเครื่องจักร: ด้วยการวางแผนและจัดตารางการซ่อมบำรุง ควบคุมอะไหล่ และบันทึกประวัติการซ่อม ทำให้เครื่องจักรพร้อมใช้งานและลดความเสี่ยงของการหยุดชะงัก

ด้วยประโยชน์ที่เรียกได้ว่า “รอบด้าน” จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าระบบ ERP คือเครื่องมือสำคัญที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมการผลิต ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การวางแผน การผลิต ไปจนถึงการส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้า ซึ่งการเลือกใช้ระบบ ERP ที่ตอบโจทย์ธุรกิจ จะเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างความได้เปรียบให้กับองค์กร ท่ามกลางการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นในปัจจุบัน


ขั้นตอนการทำงานของระบบ ERP

การที่ผู้ประกอบการจะสามารถนำระบบ ERP ไปใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ อีกหนึ่งสิ่งที่ต้องรู้คือขั้นตอนการทำงานของระบบ ERP เพื่อให้เข้าใจถึงภาพรวม และปรับใช้ให้เข้ากับองค์กรได้อย่างลงตัว โดยขั้นตอนมีดังต่อไปนี้

  1. รวบรวมข้อมูล: ขั้นตอนการทำงานของระบบ ERP เริ่มตั้งแต่การรวบรวมข้อมูลทั้งจากภายใน (Internal) และภายนอก (External) องค์กร โดยข้อมูลภายในจะครอบคลุมตั้งแต่ข้อมูลการผลิต สินค้าคงคลัง การเงิน และทรัพยากรบุคคล ในขณะที่ส่วนข้อมูลภายนอกหมายถึงข้อมูลจากลูกค้า ซัพพลายเออร์ หรือคู่ค้า เป็นต้น
  2. การจัดเก็บข้อมูลเอาไว้ในฐานกลาง: ขั้นตอนต่อมาคือการจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดไว้ในฐานข้อมูลกลาง หรือระบบคลาวด์ เพื่อให้ทุกแผนกสามารถเข้าถึงข้อมูลร่วมกันได้ การจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบจะช่วยลดความซ้ำซ้อนและความผิดพลาด พร้อมทั้งทำให้ข้อมูลมีความปลอดภัย
  3. การประมวลผลข้อมูล และสร้างรายงานเชิงลึก: จากนั้น ขั้นตอนการทำงานของระบบ ERP จะทำการประมวลผลข้อมูลที่ได้ เพื่อนำไปสร้างรายงานเชิงลึกที่มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจ เช่น รายงานต้นทุน รายงานประสิทธิภาพการผลิต หรือรายงานความต้องการของลูกค้า โดยระบบ ERP ใช้อัลกอริทึมและเทคนิคทางสถิติที่ซับซ้อนในการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาล เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่าสำหรับการทำงานขององค์กร
  4. การรายงานและแสดงผล: ในขั้นตอนสุดท้าย ระบบ ERP จะนำเสนอรายงานในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ด้วยกราฟ แผนภูมิ และตารางที่ช่วยให้ผู้ใช้มองเห็นภาพรวมได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ ผู้ใช้ยังสามารถปรับแต่งรายงานให้ตรงกับความต้องการเฉพาะของตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกช่วงเวลา กรองข้อมูล หรือเปลี่ยนรูปแบบการแสดงผล

เสริมประสิทธิภาพโรงงานด้วยแพ็กเกจเทคโนโลยี IoT กับ Mitsubishi FA

เมื่อผู้ประกอบการได้ทราบแล้วว่าระบบ ERP คืออะไร และขั้นตอนการทำงานของระบบ ERP เป็นอย่างไร ดังนั้น สำหรับผู้ประกอบการท่านใดที่กำลังมองหาโซลูชันที่จะช่วยต่อยอดให้กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพสูงสุด Mitsubishi Electric Factory Automation พร้อมนำเสนอ e-F@ctory starter package แพ็กเกจเทคโนโลยี IoT ครบวงจรในโรงงานที่พร้อมผนวกเข้ากับระบบ ERP แบบไร้รอยต่อ ให้ทุกการบริหารงานผลิตเป็นเรื่องง่าย และเพิ่มประสิทธิภาพได้จริง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชันต้นแบบ e-F@actory และบริการที่สนใจได้ที่ sales@MitsubishiFA.co.th หรือโทร. 02 092 8600


ข้อมูลอ้างอิง

  1. Enterprise Resource Planning (ERP): Meaning, Components, and Examples. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2567. จาก https://www.investopedia.com/terms/e/erp.asp
  2. Enterprise resource planning. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2567. จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Enterprise_resource_planning
Share this page
Subscribe
Receive the latest headlines, right to your inbox