Print Page

Font Size:

ประโยชน์และ Use Case การใช้แอปฯ Notify อุตสาหกรรมเรียลไทม์

Date : 17 July 2024 | Categories :

ในยุคอุตสาหกรรม 4.0 โรงงานต่าง ๆ ต้องเร่งปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนการดำเนินงาน ซึ่งหนึ่งในเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบันคือโซลูชันแอปแจ้งเตือนสถานะเครื่องจักรขัดข้อง (Machine Status Notification App) ที่เข้ามามีบทบาทด้านการตรวจสอบสถานะต่าง ๆ แบบเรียลไทม์ ซึ่งถือว่ามีประโยชน์เป็นอย่างมากกับงานซ่อมบำรุง แต่นอกจากช่วยส่งเสริมด้านนี้แล้ว ยังจะมีประโยชน์อย่างไรอีกบ้าง รวมถึงจะสามารถนำมาช่วยปฏิวัติระบบโรงงานให้เข้าสู่ยุค 4.0 ได้จริงหรือไม่ เรามีคำตอบ


ประโยชน์ของโซลูชันแอปแจ้งเตือนสถานะเครื่องจักร

ในสภาพแวดล้อมของโรงงานยุคดิจิทัล การประยุกต์ใช้เครื่องมือ IoT เข้ากับซอฟต์แวร์สำหรับอุตสาหกรรม ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากต่อการทำงาน ด้วยการพัฒนาที่ออกแบบมาให้ตอบโจทย์การทำงานได้อย่างครอบคลุม จึงช่วยยกระดับประสิทธิภาพด้านการผลิตและการควบคุมเครื่องจักรได้เหนือกว่าการทำงานในรูปแบบเดิม ๆ โดยประโยชน์ของแอปแจ้งเตือนสถานะเครื่องจักรมีดังนี้

1. เพิ่มขีดความสามารถในการคาดการณ์

ตอบโจทย์งานซ่อมบำรุงเครื่องจักร ด้วยการติดตามสถานะผ่านระบบเซนเซอร์ที่จะส่งข้อมูลไปยังศูนย์กลาง เพื่อแปลงเป็น Data สำหรับใช้คิดวิเคราะห์ให้กับสมองกล เพื่อคาดการณ์ความสามารถในการทำงานของเครื่องจักร พร้อมช่วยประเมินความเสี่ยงของปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ช่วยให้สามารถวางแผนและหาแนวทางการซ่อมบำรุงที่เหมาะสมได้ในอนาคต 

2. เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต

แอปพลิเคชันสำหรับอุตสาหกรรม มักมาพร้อมกับฟังก์ชันที่ช่วยให้สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตได้อย่างตรงจุด เพราะเป็นการตรวจจับและรวบรวมข้อมูลที่ได้จากเครื่องจักร ซึ่งบ่งบอกถึงศักยภาพในการทำงานระหว่างการผลิต พร้อมนำไปประมวลผลเพื่อปรับปรุงให้การทำงานเป็นไปตามเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้ 

3. ลดต้นทุนการดำเนินงาน

แอปพลิเคชันนี้จะเข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระงานในการติดตามสถานะเครื่องจักร ทำให้ลดต้นทุนด้านการดำเนินงานสำหรับบุคลากร และผู้เชี่ยวชาญที่ต้องควบคุมการทำงาน เพราะระบบจะสามารถเชื่อมโยงถึงกัน พร้อมให้ข้อมูลการควบคุมอย่างอัตโนมัติในแบบเรียลไทม์ อีกทั้งยังสามารถบริหารกำลังคนให้ไปทำงานในส่วนอื่น ๆ เพื่อเติมเต็มประสิทธิภาพของไลน์การผลิตให้ทำงานได้อย่างมีคุณภาพ ลดโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดความขัดข้องของเครื่องจักร ที่อาจทำให้การผลิตต้องหยุดชะงัก จึงช่วยลดต้นทุนทั้งด้านบุคลากรและเครื่องจักรได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

4. เพิ่มความปลอดภัยในการทำงาน

เพราะอุบัติเหตุและเหตุไม่คาดคิด สามารถเกิดขึ้นได้เสมอในอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากการทำงานที่ผิดพลาดของอุปกรณ์ ทั้งการทำงานของเครื่องจักร รวมถึงระบบการควบคุมต่าง ๆ ที่อาจชำรุดเสียหาย แต่ปัญหานี้จะหมดไป หากนำระบบแอปแจ้งเตือนสถานะเครื่องจักรเข้าปรับใช้ในอุตสาหกรรม เพื่อช่วยแจ้งเตือนเมื่อเครื่องจักร Downtime หรือหยุดการทำงาน โดยเซนเซอร์จะทำการบันทึกข้อมูล จากนั้นจะส่งข้อมูลเพื่อแจ้งเตือนให้แก่ผู้ควบคุม เพื่อแก้ไขปัญหาได้ในทันที ซึ่งจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยก่อนที่สิ่งไม่คาดฝันจะเกิดขึ้น 

5. ยกระดับมาตรฐานโรงงานด้วยการตัดสินใจที่แม่นยำ

อีกประโยชน์ของการใช้แอปแจ้งเตือนสถานะเครื่องจักรขัดข้อง คือการรายงานผลขั้นตอนต่าง ๆ ให้ผู้ควบคุมได้ทราบตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมสรุปออกมาในรูปแบบของ Dashboard ที่ดูแลและเข้าใจได้ง่าย ทั้งยังเป็นรายงานที่ถูกต้องแม่นยำ จึงช่วยให้ผู้ควบคุมดูแล ตลอดจนผู้บริหารองค์กร สามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการรักษามาตรฐานองค์กรให้เป็นไปตามข้อกำหนดและกฎหมายที่ควบคุมไว้

Use Case การใช้งานโซลูชันแจ้งเตือนสถานะเครื่องจักร

ในปัจจุบันมีโรงงานเล็กใหญ่มากมายที่ได้นำแอปแจ้งเตือนสำหรับอุตสาหกรรมไปใช้งาน และในบทความนี้เราก็ได้ทำการรวบรวม Use Case มาฝากถึง 3 กรณี ติดตามกันได้เลย


1. Lockheed Martin กับการกำหนดเวลาและแผนการผลิต

หลังปี 2554 บริษัท Lockheed Martin ได้ประสบปัญหาด้านการกำหนดการผลิตและการปรับเปลี่ยนที่มีค่าใช้จ่ายสูง หลังเข้าร่วมสัญญาการประกอบเครื่องบินขับไล่โจมตีล่องหน F-35 พวกเขาได้ขจัดความท้าทายดังกล่าว ด้วยการจำลองเหตุการณ์ผ่าน Simio และบูรณาการเข้ากับโมเดลการผลิตในระดับองค์กร เพื่อใช้จำลองการติดตามกระบวนการผลิตในแบบเรียลไทม์ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาสร้างแผนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ สู่การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตตามแผนงานจริง ซึ่งทำให้บริษัท Lockheed Martin สามารถบรรลุเป้าหมายการผลิตเครื่องบินขับไล่ได้ในที่สุด


2. Komatsu กับการติดตามและควบคุมผ่าน Remote Monitoring

Komatsu อีกหนึ่งบริษัทยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง การทำเหมือง ป่าไม้ และเครื่องจักรทางการทหาร พวกเขารับมือกับการเติบโตขององค์กรด้วยการนำแอปพลิเคชัน IoT เชิงอุตสาหกรรมเข้ามาใช้ในการทำงาน เพื่อติดตามการผลิตและคลังสินค้าจากทางไกล ด้วยการเชื่อมต่อเซนเซอร์ หุ่นยนต์ รวมถึงเครื่องจักรทั้งหมดเข้ากับอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถเข้าร่วมการควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมจัดการมาตรฐานการผลิตของโรงงานหลายแห่งทั่วโลกให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อช่วยป้องกันทั้งการเกิดอุบัติเหตุ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และรักษามาตรฐานความปลอดภัยได้อย่างมีคุณภาพ 

3. Bosch ปรับการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์เพื่อลดเวลาหยุดทำงานและปรับปรุงคุณภาพการผลิต

Bosch เป็นบริษัทวิศวกรรมและเทคโนโลยีที่ใช้แอปพลิเคชัน IoT เชิงอุตสาหกรรมเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและการผลิต โดยใช้ติดตามสถานะของเครื่องจักร เพื่อคาดการณ์ปัญหาและกำหนดแผนการซ่อมบำรุงที่เหมาะสม จึงนำไปสู่การควบคุมพลังงานแบบดิจิทัล ที่ทำให้บริษัทสามารถบรรลุเป้าหมายการปรับระบบอัดอากาศได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งยังช่วยลดระดับการรั่วไหลและโอกาสการหยุดชะงักของเครื่องจักร จึงทำให้สามารถปรับปรุงคุณภาพการผลิตได้ตามมาตรฐานที่ตั้งไว้ นอกจากนี้ ซอฟต์แวร์ยังสามารถระบุจุดรั่วผ่านเซนเซอร์ในการตรวจจับ ทำให้เครื่องจักรสามารถทำงานได้เสถียรมากขึ้น ลดเงินทุนด้านการซ่อมบำรุงและซื้อเครื่องจักรใหม่ได้ 

ได้เห็นถึงประโยชน์จากกรณีศึกษาของการใช้งานแอปแจ้งเตือนสถานะเครื่องจักรแบบเรียลไทม์จากบริษัทระดับโลกกันไปแล้ว ว่ามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาในกระบวนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างไร หากคุณเองก็เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการที่สนใจ และกำลังมองหาโซลูชันที่จะเข้ามาช่วยต่อยอดให้กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพสูงสุด Mitsubishi Electric Factory Automation พร้อมนำเสนอบริการ LINE Notify แอปแจ้งเตือนเครื่องจักรขัดข้อง ที่จะเข้ามาช่วยส่งต่อข้อมูลและเข้าถึงการวิเคราะห์เชิงลึกได้แบบ เรียลไทม์ ให้ทุกการซ่อมบำรุงและวางแผนการผลิตกลายเป็นเรื่องง่าย พร้อมสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ sales@MitsubishiFA.co.th หรือโทร. 02 092 8600


ข้อมูลอ้างอิง

  1. TOP 10 INDUSTRIAL IOT APPLICATIONS WITH REAL-LIFE EXAMPLES. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2567. จาก https://nix-united.com/blog/top-10-industrial-iot-applications-with-real-life-examples/ 
  2. Nexeed: Welcome to the Smart Factory. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2567. จาก https://www.bosch.com/stories/nexeed-smart-factory/ 
  3. 5 WAYS REAL-TIME MONITORING ENHANCES SMART MANUFACTURING. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2567. จาก https://www.machinemetrics.com/blog/5-ways-data-analytics-optimizes-productivity-in-manufacturing 


Share this page
Subscribe
Receive the latest headlines, right to your inbox