Print Page

Font Size:

คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม สู่การใช้ IIoT เชื่อมต่อ 5G ในโรงงาน

วันที่ : 04 October 2024 | หมวดหมู่ : บล็อก


หนึ่งในโซลูชันที่ช่วยผลักดันให้ธุรกิจก้าวขึ้นไปสู่อันดับหนึ่งได้อย่างมั่นคง คือการปรับตัวตามเทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้ทัน ซึ่งหนึ่งในเทคโนโลยีที่ชาญฉลาด และสามารถช่วยให้การทำธุรกิจพัฒนาได้อย่างไร้ขีดจำกัด นั่นก็คือการนำระบบ "คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม" เข้ามาเป็นตัวช่วยเสริมให้กับการทำงาน เพราะสามารถตอบสนองกับความต้องการได้อย่างครอบคลุม

ยิ่งในปัจจุบัน คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม สามารถเชื่อมต่อกับระบบ IIoT บนเครือข่าย 5G จึงรองรับการทำงานได้อย่างราบรื่นและเป็นระบบ ทั้งยังช่วยขับเคลื่อนให้องค์กรก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง แต่หากผู้ประกอบการท่านใดยังนึกภาพไม่ออก ว่าระบบคอมพิวเตอร์อุตสาหกรรมสามารถนำไปต่อยอดในโรงงานอุตสาหกรรมได้อย่างไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบ

ใช้คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรมภายในโรงงาน มีข้อดีอย่างไร

คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม (Industrial Computer) คืออะไร ?


คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม (Industrial Computer) คือระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้สามารถใช้งานในสภาพแวดล้อมที่มีความท้าทายสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการใช้งานภายในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีสภาพแวดล้อมหลากหลาย ทั้งอุณหภูมิสูง มีความชื้น มีการสั่นสะเทือน และฝุ่นละอองมาก เพราะถูกออกแบบมาให้มีความทนทานเป็นพิเศษ


รูปแบบของคอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม


คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรมมีอยู่หลากหลายรูปแบบด้วยกัน เพื่อตอบสนองต่อความต้องการในภาคอุตสาหกรรมที่แตกต่าง แต่จะมีอยู่ 3 รูปแบบที่นิยมนำมาใช้งาน ได้แก่

  • Embedded Computer (คอมพิวเตอร์ฝังตัว) ระบบคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ทำงานเฉพาะทาง มักถูกฝังอยู่ในระบบหรืออุปกรณ์อื่น ๆ โดยคอมพิวเตอร์ประเภทนี้จะมีขนาดที่กะทัดรัด ประหยัดพลังงาน และมีความทนทานต่ออุณหภูมิทั้งสูงและต่ำ เหมาะสำหรับการนำมาควบคุมเครื่องจักรหรือระบบอัตโนมัติในโรงงาน เพราะสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง แบบไม่สะดุด และยังสามารถป้องกันแรงสั่นสะเทือนได้เป็นอย่างดี

  • Panel Computer (คอมพิวเตอร์แบบแผง) เป็นคอมพิวเตอร์ที่รวมหน้าจอแสดงผลและระบบประมวลผลไว้ในตัวเดียวกัน ออกแบบมาให้สามารถติดตั้งบนแผงควบคุมหรือผนังได้ พร้อมหน้าจอสัมผัสเพื่อความสะดวกในการใช้งาน เหมาะสำหรับการใช้เป็นอินเทอร์เฟซควบคุมในโรงงานหรือระบบอัตโนมัติ ทนทานต่อฝุ่น น้ำ และความชื้น 

  • IPC 4U Rackmount (คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรมแบบติดตั้งบนแร็ค 4U) คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรมที่ถูกออกแบบมาให้ติดตั้งในตู้แร็คมาตรฐาน 19 นิ้ว โดยมีความสูง 4U (7 นิ้ว) รูปแบบนี้เหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการประสิทธิภาพสูงและความยืดหยุ่นในการขยายระบบ เพราะมี Mainboard ที่สามารถรองรับ PCI Slot และ PCIe Slot ได้จำนวนมาก ทั้งยังมีระบบระบายความร้อนที่มีประสิทธิภาพ ทั้งยังมาพร้อมแหล่งจ่ายไฟสำรอง เหมาะสำหรับการใช้งานในห้องควบคุมหรือศูนย์ข้อมูล

      จะเห็นได้ว่า ในแต่ละรูปแบบของคอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม ต่างก็มีจุดเด่นและการใช้งานที่แตกต่างกัน เพื่อการเลือกใช้ที่เหมาะกับลักษณะงาน สภาพแวดล้อม และความต้องการเฉพาะของแต่ละภาคอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นความกะทัดรัด ความทนทาน หรือความสามารถในการขยายระบบ โดยคอมพิวเตอร์อุตสาหกรรมทั้งสามรูปแบบ ล้วนมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนระบบอัตโนมัติและการผลิตในภาคอุตสาหกรรมสมัยใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการปรับใช้คอมพิวเตอร์กับระบบ IIoT 5G ในโรงงาน ที่จะมายกระดับศักยภาพด้านการผลิต ให้มีประสิทธิภาพอย่างก้าวกระโดด


      การปรับใช้คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม สู่การดำเนินระบบ IIoT 5G ในโรงงานอุตสาหกรรม


      ต้องยอมรับว่าในปัจจุบันนี้ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมกลายเป็นกลไกสำคัญที่จะทุกโรงงานจะต้องให้ความใส่ใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเทคโนโลยีที่กำลังเปลี่ยนแปลงวงการอุตสาหกรรมอย่าง “เครือข่าย 5G” ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของระบบ Industrial Internet of Things (IIoT)

      เครือข่าย 5G คือ เทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายความเร็วสูง ความหน่วงต่ำ ที่สามารถรองรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์จำนวนมากในพื้นที่จำกัดได้ดี ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ทำให้เทคโนโลยีเครือข่าย 5G เหมาะกับการนำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการรองรับระบบ IIoT ที่ต้องการการเชื่อมต่อที่รวดเร็วและเสถียร สู่การนำไปเพิ่มขีดความสามารถการให้บริการด้านระบบโรงงาน IIoT 5G ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับงานด้านการผลิตอย่างสูงสุด


      การใช้คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม เชื่อมต่อ IIoT ด้วย 5G

      ข้อดีของการใช้เครือข่าย 5G กับโซลูชันต่าง ๆ ในโรงงาน


      • ลดเวลาหยุดการทำงานของเครื่องจักร การเชื่อมต่อ IIoT กับ 5G ช่วยให้ผู้ผลิตสามารถตรวจสอบเครื่องจักรและอุปกรณ์ได้แบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถระบุและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ก่อนที่จะลุกลามเป็นเรื่องใหญ่ จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยรวมให้สูงขึ้น

      • เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ด้วยข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์ ผู้ผลิตสามารถปรับปรุงกระบวนการผลิตและค้นหาโอกาสในการพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังเป็นการลดของเสีย ปรับปรุงกระบวนการ และพัฒนาการสื่อสารภายในโรงงาน ช่วยให้ผู้ผลิตเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตได้ดี

      • พัฒนาความยั่งยืนในการดำเนินงาน ด้วยการปรับปรุงกระบวนการผลิต ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนลดการใช้พลังงานและการปล่อยมลพิษได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลดีต่อความยั่งยืนและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว ทั้งยังมีแผนการดำเนินงานที่สอดคล้องกับเป้าหมายและข้อกำหนดทั่วไปได้อย่างถูกต้อง

      ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การปรับใช้คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรมร่วมกับเครือข่าย 5G ในระบบ IIoT กลายเป็นก้าวสำคัญสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งใหม่ ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และสร้างความยั่งยืนให้กับภาคอุตสาหกรรมในระยะยาว

      Case Study ที่น่าสนใจของการใช้ระบบ IIoT 5G ในโรงงาน


      ในปัจจุบันมีหลาย Case Study ของการนำระบบ IIoT 5G ไปปรับใช้ในการทำงาน ซึ่งหนึ่งในตัวอย่างที่โดดเด่นคือความร่วมมือกันระหว่าง Verizon ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือชั้นนำของสหรัฐอเมริกา กับ Corning ผู้ผลิตกระจกเฉพาะทางรายใหญ่ที่รู้จักกันในฐานะผู้ผลิต Gorilla Glass ซึ่งถูกใช้ในสมาร์ตโฟนจำนวนมากทั่วโลก

      โดยในช่วงที่ผ่านมาทางบริษัทได้ร่วมมือกับ Verizon เพื่อศึกษาถึงเทคโนโลยีเครือข่าย 5G ว่าจะสามารถนำมาปรับปรุงการทำงานในสภาพแวดล้อมของโรงงานได้อย่างไร ผ่านการใช้ระบบ 5G เป็นหลัก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมสภาพแวดล้อมของโรงงานขนาดใหญ่ โดยสามารถสรุปประเด็นที่น่าสนใจได้ดังนี้

      • สามารถใช้ติดตามวัสดุและอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั่วทั้งโรงงานได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งช่วยให้การจัดการห่วงโซ่อุปทานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

      • ช่วยในการติดตามสถานะของเครื่องจักรได้แบบเรียลไทม์ ทำให้ลดผลกระทบจากการหยุดชะงักของเครื่องจักร เสริมสร้างประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตได้อย่างมั่นคง

      • นำไปใช้ควบคุมยานพาหนะอัตโนมัติ ทำให้สามารถเรียกใช้งานจากส่วนต่าง ๆ ของโรงงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ลดเวลาการปฏิบัติงาน เคลื่อนย้ายวัสดุ สิ่งของ ภายในพื้นที่ปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี

      จากกรณีศึกษาของ Corning แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของการใช้เทคโนโลยี IIoT ที่เชื่อมต่อกับเครือข่าย 5G ว่ามีประโยชน์และช่วยปฏิวัติกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมได้อย่างแท้จริง แต่ในขณะเดียวกันก็สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นในการพิจารณาอย่างรอบคอบ ถึงผลตอบแทนจากการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะต้องมีการศึกษา และขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด เพื่อวางแผนระบบให้สามารถรองรับต่อแผนการผลิตของโรงงานได้อย่างตรงจุด

      ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตในอุตสาหกรรม ตามทันทุกการเปลี่ยนแปลงได้ด้วยบริการด้านระบบโรงงานอัจฉริยะ IIoT ผ่านเครือข่าย 5G กับ Mitsubishi FA ผู้นำด้านโซลูชันที่พร้อมตอบสนองทุกความต้องการในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัยที่มีประสิทธิภาพสูง พร้อมให้คำปรึกษาและแนะนำโดยวิศวกรผู้ชำนาญการ ที่จะมาช่วยวางแผนให้เหมาะสมกับโรงงานของคุณมากที่สุด สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ sales@mitsubishifa.co.th หรือโทร. 02 092 8600


      ข้อมูลอ้างอิง

      • 5G for industrial internet of things: Opportunities and challenges. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2567. จาก https://www.iot-now.com/2023/07/31/133650-5g-for-industrial-internet-of-things-opportunities-and-challenges/

      • 5G use cases: 31 examples that showcase what 5G is capable of. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2567. จาก https://www.5gradar.com/features/what-is-5g-these-use-cases-reveal-all

      แบ่งปันเพจนี้
      Subscribe
      Receive the latest headlines, right to your inbox