Print Page

Font Size:

OEE ย่อมาจากอะไร และสำคัญอย่างไรกับองค์กร ?

วันที่ : 17 July 2024 | หมวดหมู่ :

ในยุคที่อุตสาหกรรมการผลิตมีการแข่งขันที่สูง และเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การดูแลเครื่องจักรให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญ และเพื่อพิชิตเป้าหมายที่วางไว้ได้ตามต้องการ จึงจำเป็นจะต้องมีสิ่งที่เรียกว่า ‘ค่า OEE’ เข้ามาเกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการที่ยังไม่เคยได้ยินคำดังกล่าวผ่านหูมาก่อนก็ไม่ต้องตกใจไป เพราะบทความนี้จะมาไขทุกข้อสงสัย ไล่เลียงตั้งแต่ค่า OEE คืออะไร ย่อมาจากอะไร ไปจนถึงขั้นตอนการทำ OEE ที่ถูกต้อง อธิบายแบบเข้าใจง่าย ติดตามได้เลย

บล็อกไม้ถูกจัดวางเรียงกันมีตัวอักษร OEE

ค่า OEE คืออะไร ?

อธิบายให้เข้าใจแบบง่าย ๆ ค่า OEE หรือที่ย่อมาจาก Overall Equipment Effectiveness คือดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักรในกระบวนการผลิต ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการปรับปรุงประสิทธิภาพและผลผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม โดยค่า OEE คำนวณได้มาจากการนำค่า Availability (A), Performance (P) และ Quality (Q) มาคูณกัน

  • Availability (A) หรือความพร้อมใช้งานของเครื่องจักร หมายถึงเวลาที่เครื่องจักรสามารถทำงานได้จริงเทียบกับเวลาทั้งหมดที่กำหนดไว้ โดยหากเครื่องจักรมีเวลาหยุดเนื่องจากการซ่อมบำรุง การปรับตั้ง หรือปัญหาอื่น ๆ จะส่งผลให้ค่า Availability ลดลง
  • Performance (P) หรือประสิทธิภาพการเดินเครื่องของเครื่องจักร วัดจากความเร็วและอัตราการผลิตจริงเมื่อเทียบกับความเร็วและอัตราการผลิตที่ออกแบบไว้ เช่น การหยุดชะงักของสายการผลิต ความล่าช้าในการป้อนวัตถุดิบ การทำงานที่ช้ากว่ากำหนด ล้วนส่งผลต่อค่า
  • Performance Quality (Q) หรือคุณภาพของผลผลิตที่ผลิตได้ สำหรับค่านี้จะพิจารณาจากการนำจำนวนชิ้นงานที่ผ่านมาตรฐานมาเทียบกับจำนวนชิ้นงานทั้งหมดที่ผลิต ซึ่งยิ่งมีชิ้นงานที่มีตำหนิ ต้องแก้ไข หรือไม่สามารถใช้งานได้มากเท่าไร ก็ยิ่งส่งผลให้ค่า Quality ลดลง

ด้วยเหตุนี้ ค่า OEE ที่สูงจึงเป็นภาพสะท้อนต่อกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านเครื่องจักรพร้อมใช้งาน การทำงานด้วยความเร็วใกล้เคียงหรือเท่ากับที่ออกแบบไว้ รวมถึงความสามารถในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ แต่ในทางกลับกัน หากค่า OEE ต่ำ จะเป็นตัวบ่งชี้ถึงปัญหาที่ต้องปรับปรุง เช่น เครื่องจักรเสียบ่อย ทำงานช้า หรือมีการผลิตสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานจำนวนมาก

ขั้นตอนการคำนวณค่า OEE

เมื่อทราบความหมายของค่า OEE กันไปแล้ว หัวข้อนี้จึงจะมาบอกขั้นตอนการทำ OEE ในแบบที่ไม่ใช่นักคณิตศาสตร์ก็เข้าใจได้ง่าย ๆ ดังต่อไปนี้

  1. ขั้นตอนการทำ OEE เริ่มจากการกำหนดเป้าหมาย ซึ่งจะอยู่ที่เท่าไรก็ขึ้นอยู่กับประเภทอุตสาหกรรม ลักษณะกระบวนการผลิต และสภาพเครื่องจักร โดยทั่วไปมักกำหนดเป้าหมายที่ร้อยละ 85 ขึ้นไป อย่างไรก็ตาม บางอุตสาหกรรมที่ต้องการความเที่ยงตรงสูง อาจกำหนดเป้าหมายที่สูงกว่าร้อยละ 90
  2. รวบรวมข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการคำนวณค่า OEE ได้แก่ ข้อมูลเวลาที่ใช้ในการผลิต เวลาที่เครื่องจักรหยุดทำงานและสาเหตุ อัตราการผลิตจริงเทียบกับที่กำหนดไว้ รวมถึงจำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้ทั้งหมดและจำนวนชิ้นงานที่ผ่านมาตรฐาน ข้อมูลเหล่านี้สามารถเก็บรวบรวมได้จากรายงานการผลิต ระบบตรวจสอบอัตโนมัติ รวมถึงการบันทึกด้วยมือ
  3. เมื่อมีข้อมูลครบถ้วนแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายคือการคำนวณค่า OEE โดยใช้สูตร OEE = A × P × Q ตัวอย่างเช่น ถ้าเครื่องจักรมีความพร้อมใช้งาน (A) ร้อยละ 90 มีประสิทธิภาพการเดินเครื่อง (P) ร้อยละ 95 และผลิตชิ้นงานที่มีคุณภาพ (Q) ร้อยละ 98 ค่า OEE ของเครื่องจักรนี้จะเท่ากับ 0.90 × 0.95 × 0.98 = 0.8379 หรือร้อยละ 83.79
ค่า OEE คือสิ่งที่จำเป็นกับโรงงานยุคดิจิทัลที่ต้องการความแม่นยำสูง

ประโยชน์ของการนำค่า OEE ไปประยุกต์ใช้

  • เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต: เนื่องจากค่า OEE สามารถช่วยระบุจุดที่เป็นคอขวดหรือมีปัญหาในกระบวนการผลิต ทำให้ทีมงานสามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด ไม่ว่าจะเป็นการลดเวลาหยุดเครื่อง การเพิ่มความเร็วในการผลิต หรือการลดของเสีย ส่งผลให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ต้นทุนต่อหน่วยลดลง และสามารถส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าได้เร็วขึ้น
  • ตัดสินใจได้แม่นยำด้วยข้อมูล: ค่า OEE คือแหล่งข้อมูลเชิงปริมาณที่แม่นยำ ช่วยให้ผู้บริหารมองเห็นสถานะการทำงานของเครื่องจักรและกระบวนการผลิตได้อย่างชัดเจน สามารถวิเคราะห์แนวโน้มและเปรียบเทียบประสิทธิภาพในแต่ละช่วงเวลา ข้อมูลเหล่านี้ยังจะช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุน การปรับปรุงกระบวนการ หรือการกำหนดเป้าหมายการผลิต ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • การวางแผนจัดการทรัพยากร: เมื่อทราบถึงประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรแต่ละเครื่อง ผู้บริหารองค์กรก็สามารถวางแผนกำลังการผลิต จัดสรรทรัพยากร และซื้ออะไหล่สำรองได้อย่างเหมาะสม ช่วยลดทั้งต้นทุน รวมถึงความเสี่ยงในการผลิต

เมื่อผู้ประกอบการได้ทราบแล้วว่า OEE ย่อมาจากอะไร และค่า OEE คืออะไร ดังนั้น ท่านใดกำลังมองหาโซลูชันโปรแกรมคำนวณ OEE ที่เชื่อถือได้ Mitsubishi Electric Factory Automation พร้อมนำเสนอ e-F@ctory Starter Package แพ็กเกจเทคโนโลยี IoT เพื่อการใช้งานในโรงงาน ตอบโจทย์ผู้ประกอบการที่เล็งเห็นถึงความสำคัญในการยกระดับประสิทธิภาพด้านการผลิต ภายใต้งบประมาณที่สามารถควบคุมได้ พร้อมใช้งานได้อย่างง่ายดาย ช่วยลดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการทำโปรแกรมสำหรับสายการผลิตได้จริง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชันต้นแบบ e-F@actory และบริการที่สนใจได้ที่ sales@MitsubishiFA.co.th หรือโทร. 02 092 8600

แบ่งปันเพจนี้
Subscribe
Receive the latest headlines, right to your inbox