Start main contents

  • Register
  • Login

Print Page

Font Size:

งานสัมมนา Decarbonization of Plastic products in Thailand โครงการลดการปล่อยคาร์บอนในอุตสาหกรรมพลาสติกไทย

Date : 25 August 2022 | Categories : Seminar



งานสัมมนา Decarbonization of Plastic products in Thailand

โครงการลดการปล่อยคาร์บอนในอุตสาหกรรมพลาสติกไทย


        สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกไทย ร่วมกับ บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด แพลทฟอร์ม พลาสเก็ตดอทคอม และสถาบันพลาสติก ร่วมเปิดตัว “โครงการลดการปล่อยคาร์บอนในอุตสาหกรรมพลาสติกไทย” เพื่อร่วมกันผลักดันให้ผู้ประกอบการพลาสติกไทยดำเนินการเรื่องการลดการปล่อยคาร์บอน (Decarbonization)




        โดยมี คุณถนัดกิจ เตชานุกูลชัย นายกสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกไทย คุณสมเกียรติ เลิศฤทธิ์ภูวดล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลยุทธ์แผนและพัฒนาธุรกิจองค์กร บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด มหาชน ประเทศไทย คุณวิเชียร งามสุขเกษมศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด คุณไกรศรี ภัณฑ์กิจนิรันดร กรรมการผู้จัดการ พลาสเก็ตดอทคอม คุณวีระ ขวัญเลิศจิตต์ ผู้อำนวยการสถาบันพลาสติก และคุณพวงพันธ์ ศรีทอง ผู้จัดการส่วนงานฉลากคาร์บอน องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ร่วมงานสัมมนาเปิดโครงการ ณ โรงแรมโอเรียนเต็ล เรสซิเดนซ์ ถ.วิทยุ เมื่อวันที่ 25 ส.ค. 65 ที่ผ่านมา




        เป็นที่ทราบกันดีถึงสถานการณ์ที่ขณะนี้ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญ และกำลังสร้างแรงผลักดันเพื่อให้เกิดความร่วมมือ ในการสร้างสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจ กับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่อย่างสมบูรณ์และยั่งยืน หนึ่งในประเด็นของการขับเคลื่อนที่สำคัญนี้ นั่นก็คือการดำเนิน เพื่อลดการปล่อยคาร์บอน หรือ Decarbonization รายงานจากการประชุม World Economic Forum มองว่า ความเสี่ยงในปี 2022 สิ่งที่น่ากังวลที่สุดคือ ความล้มเหลวในการจัดการกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ของประเทศต่างๆ ทั่วโลก นำมาซึ่งสภาพอากาศที่รุนแรง ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม แผ่นดินถล่ม เป็นประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญ ต่อความเป็นอยู่ของประชากรโลก และจัดเป็นความเสี่ยงของโลกในอันดับแรก เรียกได้ว่าตอนนี้โลกของเรากำลังพบเจอทั้งอุปสรรค และความท้าทาย บนเส้นทางสู่ความยั่งยืนของสภาพภูมิอากาศ โดยที่ประเทศไทยเองได้ตั้งเป้า สู่ "ความเป็นกลางทางคาร์บอน" ปี 2050 และเดินหน้าสู่การปล่อย คาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ในปี 2065” ซึ่งเส้นทางสู่การปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ต้องบอกว่าไม่ใช่เรื่องง่าย ทุกภาคส่วนต้องมามีส่วนร่วม ในส่วนของอุตสาหกรรมพลาสติก ก็เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ดังนั้นอุตสาหกรรมพลาสติกจึงต้องการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการลดการปล่อยคาร์บอน เพื่อเดินหน้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนเช่นกัน




        หลังจากนั้น คุณพวงพันธ์ ศรีทอง ผู้จัดการส่วนงานฉลากคาร์บอน องค์การบริหารจดั การก๊าซเรือนกระจก ได้สร้างความเข้าใจ เกี่ยวกับสาเหตุของข้อกำหนดกฎเกณฑ์การควบคุมการปล่อยคาร์บอน รวมถึงรายละเอียดของกฎระเบียบค่าปรับหากผลิตภัณฑ์มีคุณสมบัติไม่ตรงกับเกณฑ์สินค้านำเข้า


     


      คุณไกรศรี ภัณฑ์กิจนิรันดร กรรมการผู้จัดการ พลาสเก็ตดอทคอม และคุณวิเชียร งามสุขเกษมศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้แนะนำโซลูชั่นระบบอัตโนมัติสำหรับการลดคาร์บอนในอุตสาหกรรมการผลิต และการลดคาร์บอน ด้วย PCR plastic Low-carbon alternative และโซลูชันอื่นๆ




      นอกจากนี้ คุณคงศักดิ์ ดอกบัว ผู้อำนวยการฝ่ายข้อมูลและวิจัยตลาดอุตสาหกรรมพลาสติก สถาบันพลาสติกได้อธิบายถึง หลักการประเมิน ปัจจัยที่จะนำมาคำนวณ carbon footprint ของผลิตภัณฑ์ด้วย


     


        โดยในครั้งนี้ สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกไทย ร่วมกับ บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด, พลาสเก็ตดอทคอม และสถาบันพลาสติก ร่วมมือกันผลักดันให้ผู้ประกอบการพลาสติกไทยดำเนินการเรื่องการลดการปล่อยคาร์บอน (Decarbonization) เพื่อสอดรับกับแนวนโยบายภาครัฐและมุ่งเป้าเพื่อให้บรรลุการกำจัดคาร์บอนจากเชื้อเพลิงฟอสซิลจนเหลือศูนย์ โดยคุณไกรศรี ภัณฑ์กิจนิรันดร กรรมการผู้จัดการ พลาสเก็ตดอทคอม ได้เชิญชวนผู้ประกอบการธุรกิจพลาสติกเข้าร่วมโครงการ “การลดการปล่อยคาร์บอนในอุตสาหกรรมพลาสติกไทย” โดยกล่าวถึงวัตถุประสงค์โครงการ แนวทางการดำเนินการ ระยะเวลาโครงการ ความเข้าใจเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการ, ได้ทราบประโยชน์ที่จะได้รับจากการเข้าโครงการ และได้ทราบสิทธิพิเศษที่ผู้สนับสนุนโครงการได้มอบให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ


     

Share this page
Subscribe
Receive the latest headlines, right to your inbox
Page Top