Start main contents

  • Register
  • Login

Print Page

Font Size:

SCADA GENESIS64™ ซอฟต์แวร์อัจฉริยะของ “มิตซูบิชิ อีเล็คทริคฯ” พาผู้ประกอบการไทยฝ่ากับดัก “ภาษีคาร์บอน”

Date : 08 May 2023 | Categories : Exhibition


SCADA GENESIS64™ ซอฟต์แวร์อัจฉริยะของ “มิตซูบิชิ อีเล็คทริคฯ”
พาผู้ประกอบการไทยฝ่ากับดัก “ภาษีคาร์บอน”


        จากสถานการณ์จากทั่วโลกที่มีการร่วมกันเร่งผลักดันกิจกรรมต่างๆ ด้าน NetZero และ/หรือ Carbon Neutral ทำให้ทิศทางในอนาคต “ภาษีคาร์บอน” จะกลายเป็นมาตรการสำคัญทางการค้าระหว่างประเทศ ยกตัวอย่าง มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism: CBAM) เป็นมาตรการที่จะเริ่มบังคับใช้ในปี 2567 สำหรับสินค้านำเข้าไปสหภาพยุโรป ในอุตสาหกรรมเป้าหมายเบื้องต้น ได้แก่ ซีเมนต์ บริการไฟฟ้า ปุ๋ย อะลูมิเนียม เหล็กและเหล็กกล้า ก่อนจะขยายขอบเขตไปอีกหลายอุตสาหกรรมในอนาคต ขณะที่ สหรัฐอเมริกา อยู่ระหว่างการพิจารณากฎหมาย และมีแนวโน้มว่าอาจจะเริ่มมีการเก็บค่าธรรมเนียมคาร์บอนในอุตสาหกรรมเป้าหมายเช่นเดียวกับ CBAM ในปีหน้า ซึ่งสหรัฐอเมริกาถือเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 1 ของไทยในอุตสาหกรรมเป้าหมายหลักที่เกี่ยวข้องหลายรายการ และในอีกหลายประเทศก็เลี่ยงไม่พ้นที่จะนำ “ภาษีคาร์บอน” มาบังคับใช้ ตามข้อตกลงภาคีสมาชิกกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC)


        ดังนั้น ผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะผู้ส่งออกสินค้าในอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยแก๊สเรือนกระจกจำนวนมาก ควรพิจารณาเพื่อเร่งลงทุนและปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตสินค้าเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงจัดทำระบบการเก็บข้อมูลด้านการลด/ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิตที่มีมาตรฐาน เพื่อรักษาโอกาสทางการค้าและรวมถึงเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน โดยเฉพาะเพื่อรักษาฐานลูกค้าในต่างประเทศและเตรียมรองรับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่จะมีความเข้มงวดมากขึ้น


        วันนี้เรามีซอฟต์แวร์อัจฉริยะของ บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (MELFT) ซึ่งเป็นบริษัทหนึ่งในกลุ่ม มิตซูบิชิ อิเล็คทริค คอร์เปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น มาแนะนำ นั่นก็คือซอฟต์แวร์ที่มีชื่อว่า GENESIS64™ เป็นซอฟต์แวร์ SCADA สามารถช่วยวิเคราะห์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมต่างๆ นำเสนอการแสดงภาพจำลองแบบ Real-time ดูกระบวนการปล่อยคาร์บอนในโรงงานอุตสาหกรรมตั้งแต่รายชั่วโมง รายวัน รายเดือน และรายปี เพื่อวางแผนระบบการผลิต ควบคุมการใช้พลังงานและปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่ให้เกินค่ามาตรฐานกำหนด หรือลดปริมาณการปล่อยให้น้อยที่สุด ซึ่งจะนำไปสู่การได้รับการยกเว้นภาษี การลดภาษี หรือแม้กระทั่งการขายเป็นคาร์บอนเครดิตให้กับโรงงานอื่นๆ ที่ปล่อยคาร์บอนเกินมาตรฐานกำหนด



        SCADA GENESIS64™ สามารถคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร เช่น การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง การใช้ไฟฟ้า การจัดการของเสีย และการขนส่ง วัดออกมาในรูปตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยพิจารณาจาก 3 ส่วนหลัก แบ่งเป็น SCOPE ประกอบด้วย


SCOPE I: การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทางตรง (Direct Emissions) จากกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรโดยตรง เช่น การเผาไหม้ของเครื่องจักร การใช้พาหนะขององค์กร (ที่องค์กรเป็นเจ้าของเอง) การใช้สารเคมีในการบำบัดน้ำเสีย การรั่วซึม/รั่วไหล จากกระบวนการหรือกิจกรรม เป็นต้น

SCOPE II: การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทางอ้อมจากการใช้พลังงาน (Energy Indirect Emissions) ได้แก่ การซื้อพลังงานมาใช้ในองค์กร ได้แก่ พลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อน พลังงานไอน้ำ เป็นต้น

SCOPE III: การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทางอ้อมด้านอื่นๆ การเดินทางของพนักงานด้วยพาหนะที่ไม่ใช่ขององค์กร การเดินทางไปสัมมนานอกสถานที่ การใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น



        ปัจจุบัน SCOPE I และ SCOPE II ถือว่าอยู่ในกระบวนการที่เข้มข้นมาก เป็นเรื่องที่ทุกโรงงานจะต้องเข้าสู่การปฏิบัติตามเงื่อนไขทันที SCADA GENESIS64™ สามารถคำนวณการปล่อยคาร์บอนในไลน์การผลิต ซึ่งก็คือการเก็บข้อมูลว่าแต่ละส่วนการผลิตมีการปล่อยคาร์บอนเท่าไหร่ เพื่อนำมาประมวลผลปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมขององค์กร จำแนกสาเหตุของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีนัยสำคัญและหาแนวทางลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกลง เพื่อนำไปขายเป็นคาร์บอนเครดิต หรือทำการชดเชยคาร์บอนกับองค์กรอื่นๆ


        SCADA GENESIS64™ มีฟังก์ชั่นต่างๆ บนเทมเพลตที่ผู้ประกอบการสามารถใช้งานได้แบบง่ายๆ แม้ในโรงงานจะมีการใช้พลังงานจากหลายแหล่ง อาทิ ไฟฟ้า ก๊าซ แสงอาทิตย์ น้ำ หรือ ลม ระบบก็จะแยกสัดส่วนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า พลังงานประเภทไหนมีอัตราการใช้เท่าไหร่ โรงงานใช้พลังงานส่วนไหนมากสุด ซึ่งจะถูกแปรได้ว่าพลังงานชนิดนั้นปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมามากที่สุด เช่น ถูกปล่อยออกมาจากการใช้ไฟฟ้ามากที่สุด ผู้ประกอบการจะทำการลดการใช้พลังงานไฟฟ้าลงหรือเปล่า เพื่อลดการปล่อยปริมาณคาร์บอนจากไฟฟ้า นอกจากจะดูเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายเดือน รายปี ยังมีช่องเปรียบเทียบจำนวนปริมาณคาร์บอน 12 เดือนย้อนหลัง 1 ปีย้อนหลัง หรือ 5 ปีที่ผ่านมาว่าเป็นอย่างไร เพื่อประสิทธิภาพในการปรับปรุงระบบการผลิต



        หนึ่งในไฮไลท์ของ SCADA GENESIS64™ คือสามารถคำนวณค่าภาษีที่องค์กรหรืออุตสาหกรรมนั้นๆ ต้องจ่ายจริง โดยการใส่ข้อมูลจำนวนพลังงานที่ปล่อยออกมา นำไปคูณกับค่าภาษีแต่ละหน่วยที่ภาครัฐกำหนดว่า แหล่งพลังงานจากไหน เสียภาษีเท่าไหร่ ระบบจะประมวลว่าคาร์บอนที่ปล่อยออกไปนั้น เกินโควตาหรือไม่ จะต้องเสียภาษีมากน้อยแค่ไหน หรือหากมีโควตาเหลือ สามารถขายเป็นคาร์บอนเครดิตได้เท่าไหร่ ทั้งนี้ยังสามารถสร้างรูปแบบรีพอร์ทได้อย่างอิสระเพื่อนำเสนอขอรับรองโครงการโดย องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. ซึ่งได้รวบรวมหน่วยงาน องค์กร อุตสาหกรรมต่างๆที่จะต้องเสียภาษีคาร์บอนไว้ในระบบ และประชาสัมพันธ์ออกไปให้ทุกคนรับทราบแล้วว่า ประมาณปี 2025 ทุกองค์กรจะต้องถูกคิดภาษีคาร์บอน ซึ่งทุกคนสามารถยื่นข้อมูลการปล่อยคาร์บอนได้ตั้งแต่ตอนนี้ เพื่อมีรายชื่ออยู่ในระบบของ อบก. ว่า บริษัทหรือผลิตภัณฑ์ของเราผ่านการรับรองคาร์บอนจาก อบก. แล้ว


        SCADA GENESIS64™ นอกจากจะช่วยให้อุตสาหกรรมควบคุมการปล่อยคาร์บอนเพื่อลดโลกร้อนแล้ว ยังเป็นการเปิดโอกาสให้มีรายได้จากคาร์บอนเครดิตได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งตลาดคาร์บอนเครดิตจะเทรดได้เหมือนกับคริปโตเคอร์เรนซี เช่น บริษัท A มีขนาดพื้นที่ใหญ่ ใช้คาร์บอนไม่ถึงโควตาที่กำหนด หรือมีการใช้พลังงานทดแทนทั้งระบบ ทำให้ไม่ต้องเสียภาษีคาร์บอน ก็สามารถขายโควตาให้กับบริษัท B ที่ใช้คาร์บอนเกินโควตาได้ ซึ่งระบบ GENESIS64™ มีระบบการคำนวณที่หน่วยงานภาครัฐสามารถเข้ามาตรวจสอบได้อย่างแม่นยำและง่ายดาย ช่วยให้ผู้ตรวจสอบเช็ควิธีการคำนวณได้ตั้งแต่เริ่มต้นจนกลายเป็นเครดิต เพื่อนำไปเทรดดิ้งขายกับบริษัทอื่นในตลาดคาร์บอนเครดิต



        อย่างที่กล่าวในตอนต้นว่า วันนี้ตลาดยุโรปและอเมริกาเริ่มเตรียมการจัดเก็บภาษีคาร์บอนแล้ว ซึ่งในส่วนการดำเนินการของภาครัฐเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการนั้น อบก. ได้มีการพัฒนาระบบ Embedded Emission เพื่อวัดปริมาณการปล่อยแก๊สเรือนกระจกเฉพาะ ให้สอดคล้องกับมาตรฐาน EU ตามมาตรการ CBAM และพัฒนาผู้ตรวจสอบตามมาตรฐาน EU เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายและต้นทุนของผู้ประกอบการส่งออก รวมถึงจะมีดำเนินการเจรจากับ EU ให้ผู้ประกอบการไทยสามารถใช้คาร์บอนเครดิตจากโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VERs) เพื่อลดภาระการซื้อ CBAM Certificates ของผู้ส่งออก


        ขณะที่ บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด หรือ MELFT มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยผลักดันและร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมไทยเข้าสู่ระบบ 4.0 ด้วยทีมงานวิศวกรที่ผ่านการฝึกฝนมาแล้วอย่างดีจากประเทศญี่ปุ่น เพื่อต้องการสนับสนุนและยกระดับโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตของไทยให้มีความทันสมัยเป็นระบบอัตโนมัติ เพิ่มประสิทธิภาพและลดการใช้พลังงาน รวมถึง ต้นทุนการผลิตทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพิ่มโอกาสและความสามารถทางการแข่งขันได้ในตลาดโลก เป็นโรงงานอัจฉริยะภายใต้คอนเซ็ปต์ e-F@ctory ซึ่ง SCADA GENESIS64™ ถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือของ มิตซูบิชิ อีเล็คทริคฯ ที่จะสามารถช่วยให้ผู้ประกอบการไทย ก้าวข้ามกับดักภาษีคาร์บอนในอนาคต


        ทั้งนี้ รายละเอียดของฟังก์ชันอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ SCADA GENESIS64™ ยังมีอีกมาก หาคำตอบได้ในสัมมนา Driving Sustainability by DIGITALIZING for Plastics Industry ที่จัดขึ้นในวันที่ 10-13 พฤษภาคม 2566 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ



ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าฟังฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ผ่านทางลิงก์นี้เพื่อลงทะเบียนเข้าฟังล่วงหน้า :https://bit.ly/MELFT-INTERMACH2023


        นอกจากนั้น ภายในงาน วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 เวลา 11.00-11.45 น. ยังมีการอภิปรายในหัวข้อ วิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นของผู้บริหารในการร่วมมือขับเคลื่อนความยั่งยืนในอุตสาหกรรมพลาสติกโดยวิทยากรและผู้บริหารระดับสูงจากองค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้องมาให้ความรู้ ได้แก่

1. คุณวิเชียร งามสุขเกษมศรี กรรมการบริหาร บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด
2. คุณวีระ ขวัญเลิศจิตต์ ผู้อำนวยการสถาบันพลาสติก
3. คุณไกรศรี ภัณฑ์กิจนิรันดร ผู้จัดการฝ่ายอาวุโส แผนกลยุทธ์และความยั่งยืนสังกัด กลยุทธ์แผนและพัฒนาธุรกิจองค์กร บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) และ ตัวแทนจาก Plastket.com
4. ดร.ปวีณา พาณิชยพิเชฐ ผู้จัดการ สำนักรับรองคาร์บอนเครดิต องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) อบก. หรือ TGO เป็นหน่วยงานภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5. คุณเกียรติศักดิ์ จิระขจรวงศ์ นายกสมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย (ไทยซับคอน)
6. ดร.ประพิณ อภินรเศรษฐ์ นายกสมาคมผู้ประกอบการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ไทย (TARA)
7. ดร.ไพบูลย์ ลิ้มปิติพานิชย์ ผู้อำนวยการศูนย์อีอีซี ออโตเมชั่นพาร์ค มหาวิทยาลัยบูรพา
8. คุณเอกพล พงศ์สถาพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. ทานตะวันอุตสาหกรรม
9. คุณพีรพงศ์ ศาศวัตวิบูลย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไพรซ์ อินเตอร์แพค(1999) จำกัด
Share this page
Subscribe
Receive the latest headlines, right to your inbox
Page Top